ผู้เขียน หัวข้อ: อาการ โรคความดันโลหิตสูง เช็กหน่อย ปวดหัวบ่อย อาจเสี่ยง!  (อ่าน 96 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 138
    • ดูรายละเอียด
อาการ โรคความดันโลหิตสูง เช็กหน่อย ปวดหัวบ่อย อาจเสี่ยง!

ปวดหัวบ่อย ระวังหน่อยอาจเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง เพราะโรคความดันโลหิตสูงไม่ได้เกิดขึ้นกับเฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น วัยไหนก็สามารถเป็นได้ และถือว่าเป็นภัยเงียบที่น่ากลัวต่อร่างกาย อาจเสี่ยงทำให้เกิดโรคร้ายตามมา ไม่ว่าจะเป็น ภาวะหัวใจวาย โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น

ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อาจมีอาการปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ เวียนหัว บางคนอาจมีอาการปวดหัวตุบ ๆ เหมือนไมเกรน ซึ่งยากต่อการตรวจพบในอาการเริ่มต้น วันนี้ใครที่สงสัยว่า โรคความดันโลหิตสูง เกิดจากสาเหตุอะไร มีอาการแบบไหน โรความดันโลหิตสูง รักษาอย่างไร แล้วถ้าเป็นจะรักษาหายไหม ลองไปหาคำตอบกัน!


    โรคความดันโลหิตสูง คืออะไร
    สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง
    โรคความดันโลหิตสูงมีกี่ชนิด
    เช็กอาการ โรคความดันโลหิตสูง ปัจจัยเสี่ยง
    วิธีป้องกัน ลดเสี่ยงโรความดันโลหิตสูง


โรคความดันโลหิตสูง คืออะไร

ปวดหัวบ่อย อาจเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง เพราะโรคนี้เป็นโรคที่ไม่มีอาการแสดงให้เห็นชัดเจน อาการอาจคล้ายแค่อ่อนเพลีย จึงถือเป็นภัยเงียบที่น่ากลัวต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อหัวใจ และอาจทำให้เกิดโรคร้ายตามมา โดยเฉพาะโรคหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นภาวะหัวใจวาย โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น

ดังนั้นหากรู้ได้เร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตให้สูงขึ้นเท่านั้น มาถึงตรงนี้หลายคนคงสงสัยว่าโรคความดันโลหิตสูง คืออะไร มีสาเหตุเกิดจากอะไร โรคความดันโลหิตสูง เกิดในเฉพาะผู้สูงอายุหรือไม่ ลองไปดูกัน

โรคความดันโลหิตสูง คือ (Hypertension) เป็นโรคที่เกิดจากการที่ความดันเลือดสูงกว่าปกติ คือมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 ติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งความดันโลหิตที่ “เหมาะสม” ของคนอายุ 18 ปี ขึ้นไป อยู่ที่ 120-129 มม.ปรอท สำหรับตัวบน และ 80-84 มม.ปรอท สำหรับตัวล่าง มักไม่แสดงอาการ แต่ส่งผลเสียต่อหลอดเลือดและหัวใจ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงชีวิต หรือพิการ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง กล้ามเนื้อหัวใจหนา เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ไตวาย เป็นต้น การรู้ตัวว่าความดันโลหิตสูงตั้งแต่ระยะแรกนั้นสำคัญ เพราะจะช่วยให้ควบคุมระดับความดันโลหิตและลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้

นอกจากนี้หากมีความดันโลหิตสูงมาก ยังสามารถทำให้หลอดเลือดแตกได้ด้วย ในส่วนของสมองเมื่อเลือดไปเลี้ยงไม่พอ จะส่งผลต่อการเกิดอัมพฤกษ์อัมพาต เลือดออกในสมอง ถ้าหากในส่วนของหัวใจก็จะทำงานหนักทำให้หัวใจโตหรือล้มเหลว ผลลัพธ์อื่นๆ ที่เกิดจากความดันโลหิตสูง ได้แก่ โรคไต ไตเสื่อม ตามีปัญหาเริ่มมองได้ไม่ดีหรือมองไม่ชัดรวมถึงอวัยวะอื่นๆ ซึ่งมีผลทั้งร่างกายร้ายแรงเช่นกัน


สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่จากข้อมูลผู้ป่วย 95% ที่มีปัจจัยเสี่ยงเป็นโรคนี้คือการ  กินรสเค็มจัด อายุที่เพิ่มมากขึ้น โรคต่อมไทรอยด์ การใช้ฮอร์โมนบางชนิด เป็นต้น

โดยส่วนใหญ่คนไข้จะไม่มีอาการเลย ถือเป็นความน่ากลัวของโรคนี้และกลายเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้ป่วยแบบไม่รู้ตัว ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการวัดความดัน ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่สามารถบอกได้ว่าเรามีอาการนี้หรือไม่ ซึ่งหากพบภาวะดังกล่าวก็จะช่วยให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ทันท่วงที ซึ่งโรคความดันโลหิตสูงนั้น ไม่ได้เกิดแค่ในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัยเช่นกัน


โรคความดันโลหิตสูงมีกี่ชนิด

โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคสำคัญที่ควรได้รับการดูแลเป็นอย่างดีเพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในอนาคต เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไตวาย ซึ่งความดันโลหิตสูง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ


ความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ (primary or essential hypertension)

    พบได้ประมาณ 95% ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด ส่วนใหญ่พบในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย แม้ปัจจุบันจะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่อย่างไรก็ตามคณะกรรมการร่วมแห่งชาติด้านการประเมินและรักษาโรคความดันโลหิตสูงของสหรัฐอเมริกาพบว่า มีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ กรรมพันธุ์ ความอ้วน การมีไขมันในเลือดสูง การรับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด การไม่ออกกำลังกาย การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ความเครียด อายุที่มากขึ้น และมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด


ความดันโลหิตสูงชนิดที่ทราบสาเหตุ (secondary hypertension)

    พบได้น้อย คือประมาณ 5-10% ส่วนใหญ่เกิดจากการมีพยาธิสภาพของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย โดยจะส่งผลให้เกิดแรงดันเลือดสูง ส่วนใหญ่อาจเกิดจากพยาธิสภาพที่ไต ต่อมหมวกไต โรคหรือความผิดปกติของระบบประสาท ความผิดปกติของฮอร์โมน โรคของต่อมไร้ท่อ โรคครรภ์เป็นพิษ การบาดเจ็บของศีรษะ การใช้ยาและการถูกสารเคมี เป็นต้น


เช็กอาการ โรคความดันโลหิตสูง ปัจจัยเสี่ยง

พอจะทราบกันไปแล้วว่าโรคความดันโลหิตสูงคืออะไร แล้วแบ่งออกเป็นกี่ชนิด คราวนี้ลองมาเช็กอาการกันหน่อย เพราะส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอาจจะไม่มีอาการใดๆ เลย แต่จะมีอาการเสี่ยงดังนี้

    ปวดหัว เวียนหัว
    เลือดกำเดาไหล
    เหนื่อยหอบขณะทำงาน หรือมีอาการเหนื่อยหอบจนนอนราบไม่ได้ แสดงถึงการมีภาวะหัวใจห้องล่างซ้ายล้มเหลว
    อาการอื่นๆ ที่อาจพบร่วม ได้แก่ อาการเจ็บหน้าอกสัมพันธ์กับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากการมีเส้นเลือดหัวใจตีบ หรือจากการมีกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวมากจากภาวะความดันโลหิตสูงที่เป็นมานานๆ


ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง แบ่งได้เป็น 2 แบบคือ

ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้

    ประวัติครอบครัว ถ้าปู่ บิดา มารดาเป็นความดันโลหิตสูง โอกาสที่บุตรจะมีความดันโลหิตสูงมีมาก ดังนั้นคุณผู้อ่านที่มีคุณพ่อ แม่เป็นความดันโลหิตสูง ควรมั่นตรวจวัดความดันอย่างสม่ำเสมอ
    อายุ และเพศ วัยก่อนหมดประจำเดือนผู้ชายจะเป็นความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้หญิงเมื่อวัยหมดประจำเดือนผู้หญิงจะเป็นความดันโลหิตมากกว่าผู้ชาย ส่านในคนแก่พบความดันโลหิตสูงพอๆกัน โดยมากมักพบความดันในช่วงอายุ 35-50 ปี
    เชื้อชาติ พบความดันโลหิตสูงในผิวดำมากกว่าผิวขาว


ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้ 

    น้ำหนัก คนอ้วนพบความดันโลหิตสูงมากกว่าคนผอม
    เกลือ ทานเค็มมีแนวโน้มที่จะมีความดันโลหิตสูง
    การขาดการออกกำลังกาย
    ความเครียด
    การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์
    มีไขมันในเลือดสูง
    โรคเบาหวาน


วิธีป้องกัน ลดเสี่ยงโรความดันโลหิตสูง

มาถึงการรักษาและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงกันบ้าง การรักษาของโรคความดันโลหิตสูง แม้จะเป็นโรคที่อันตราย แต่ก็เป็นโรคที่สามารถควบคุมได้ในระยะยาวหากได้รับการรักษาที่รวดเร็วก่อนโรคจะลุกลาม

โดยเบื้องต้นส่วนใหญ่จะรักษาด้วยวิธีการให้ยาลดความดันเลือด เพื่อรักษาระดับความดัน ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งนอกจากการกินยาแล้ว ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะหากไม่ปรับพฤติกรรม แล้วมีความดันโลหิตสูงขึ้นเรื่อย ๆ  จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้เป็นโรคต่างๆ ได้ อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว มีอาการหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ มีอาการขาบวม อาจเป็นโรคไตเรื้อรัง มีอาการขาบวม ซีด ผิวแห้ง รวมถึงโรคหลอดเลือดสมอง อาการที่แสดงออก คือ มีอาการปากเบี้ยว อ่อนแรงครึ่งซีก ชาครึ่งซีก หรืออาจมีภาวะสมองเสื่อม
ตา อาจเกิดความผิดปกติที่จอประสาทตา เป็นต้น


ดังนั้นคนที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว ควรปรับพฤติกรรมร่มกับการกินยา ดังนี้

    หมั่นตรวจวัดความดันเลือดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
    กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผัก และผลไม้ชนิดที่ไม่หวาน
    ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
    ออกกำลังเป็นประจำ
    พักผ่อนให้เพียงพอ
    ไม่เครียด
    ลดอาหารมีรสเค็ม


ส่วนสำหรับใครที่ยังแข็งแรงแต่กังวลว่าตัวเองอาจเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรปฏิบัติตัวตามดังนี้

    ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หากคุณอ้วนให้รีบลดน้ำหนัก
    ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    เลือกอาหารมี่มีเกลือต่ำ
    งดเครื่องดื่มแฮลกอฮอล์
    งดบุหรี่ เป็นวิธีการที่ได้ผลดีในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
    ไม่เครียดง่าย
    กินอาหารที่มีคุณภาพโดยการลดอาหารเค็ม ลดอาหารมันเพิ่มผักผลไม้แทน
    หากมียากินประจำ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่ เพราะมียาบางตัวทำให้เกิดความดันโลหิตสูง