ผู้เขียน หัวข้อ: บริหารจัดการอาคาร: เคล็ดไม่ลับ ดูแลเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน  (อ่าน 262 ครั้ง)

siritidaphon

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 91
    • ดูรายละเอียด
“เครื่องใช้ไฟฟ้า” สิ่งสำคัญที่ทุกบ้านต้องมี เมื่อมีการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าไปสักระยะ ผู้อยู่อาศัยก็จำเป็นต้องต้องดูแลบำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ยังคงสามารถพร้อมใช้งานอยู่เสมอ ซึ่งก็เป็นหนึ่งในการเช็คความเสี่ยงให้กับบ้าน เพื่อป้องกันภัยจากระบบไฟฟ้าภายในบ้านที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
         
วันนี้เราจะมาแนะนำ 5 เคล็ด "ไม่ลับ" ดูแลเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ให้พร้อมใช้งานและปลอดภัยอยู่เสมอ


1. ตรวจเช็ค “สายไฟ-ปลั๊กไฟ ภายในบ้าน-นอกบ้าน” อยู่เสมอ

          อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องดูแลเป็นอันดับแรก โดยวิธีง่าย ๆ คือ การใช้ไขควงไฟฟ้าแตะที่ตัวโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้า หากมีแสงไฟติด แสดงว่ามีไฟฟ้ารั่ว ให้หยุดใช้งานในทันที
          ส่วนกลุ่มอุปกรณ์เต้ารับไฟฟ้าภายในบ้าน และสายไฟ โดยเฉพาะสายไฟที่ซ่อนตามจุดต่าง ๆ ที่อาจมีการเสื่อมสภาพ ให้สังเกตว่า ถ้าอุปกรณ์เต้ารับมีการชำรุดเสียหายควรเปลี่ยนใหม่ และใช้ไขควงไฟฟ้าเช็คตรวจสอบกระแสไฟฟ้าอีกครั้ง  ส่วนสายไฟให้เช็คความเสี่ยง โดยเริ่มจากการปิดสวิตซ์ ถอดปลั๊กอุปกรณ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกจุด และให้สังเกตที่มิเตอร์ หากมีการหมุนอยู่แสดงว่ามีกระแสไฟรั่วอยู่


2. ลดความเสี่ยงจากอุปกรณ์ที่ชำรุด ป้องกันไฟดูด

          หากตรวจพบว่าภายในบ้านมีอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชำรุด เสียหาย แนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงการใช้งานไฟฟ้าที่บริเวณนั้นก่อน และรีบเรียกช่างไฟฟ้าที่มีความเชี่ยวชาญมาซ่อมแซมทันที
          นอกจากนี้การป้องกันไฟฟ้าดูด ยังสามารถทำได้ โดยการห้ามแตะสัมผัสอุปกรณ์ - เครื่องใช้ไฟฟ้าในขณะที่ร่างกายเปียกชื้น หรือยืนอยู่ในบริเวณที่ชื้นแฉะ เพราะหากมีกระแสไฟฟ้ารั่ว อาจถูกไฟดูดได้


3. หลีกเลี่ยงการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน (มอก.)

ปัจจุบันมีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน (มอก.) วางขายอยู่จำนวนมาก ซึ่งบางคนอาจจะไม่รู้ และมีการซื้อมาใช้งานกันบ้างแล้ว ดังนั้นคุณควรต้องกลับไปเช็คความเสี่ยงจากอุปกรณ์ไฟฟ้า หลอดไฟ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้านอีกครั้ง เพื่อเช็คความเสี่ยง ถ้าหากพบเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน (มอก.) ก็ควรจะเลิกใช้ในทันที เพื่อป้องกันอัตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน


4. เลือกใช้บริการช่างไฟฟ้าที่มีความเชี่ยวชาญ

          ในกรณีที่คุณเช็คความเสี่ยง และตรวจพบว่า “บ้าน” มีความเสี่ยงจากระบบไฟฟ้ารั่ว หรือ อุปกรณ์ภายในบ้านชำรุด เสียหาย หากคุณไม่มีความเชี่ยวชาญ ควรหลีกเลี่ยงการซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยตนเอง เพราะอาจเกิดอันตรายได้ แนะนำว่าเบื้องต้นคุณควรจะต้องหาจุดบกพร่องที่เกิดขึ้น  และรีบเรียกช่างไฟฟ้าที่มีความชำนาญมาเปลี่ยน – ซ่อมแซมอุปกรณ์ให้จะดีกว่า เพื่อความปลอดภัยและความมั่นใจในการใช้งานต่อไปในอนาคต


5. “เปิด-ปิด” เครื่องใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งาน

          การเปิด-ปิด เครื่องใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งาน รวมถึงการถอดปลั๊กไฟเมื่อไม่ได้ใช้งานแล้วจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการการดูแลรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้า ให้ใช้งานได้ในระยะยาว ซึ่งนอกจากจะยืดอายุการใช้งานแล้ว ยังสามารช่วยประหยัดไฟได้ด้วย
          ซึ่งเทคนิคง่าย ๆ ก็คือ การเลือกขนาดของเครื่องใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสม เช่น ตู้เย็น ควรเลือกให้เหมาะกับจำนวนคนในบ้าน วางตู้เย็นให้ห่างจากผนัง ไม่ต่ำกว่า 15 ซ.ม. เพื่อให้ตู้เย็นระบายความร้อนได้ดี และที่สำคัญไม่ควรแช่ของไว้มากเกินไป หรือ นำของร้อนๆ ไปแช่ในตู้เย็นทันที เพราะจะทำให้ตู้เย็นต้องทำงานหนักขึ้นนั่นเองค่ะ



บริหารจัดการอาคาร: เคล็ดไม่ลับ ดูแลเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/